วันเสาร์ที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

Internal Control: บทนำและที่มา

<เนื้อหาดังกล่าวเกี่ยวกับ IT Auditing ซึ่งมีการแสดงความเห็นส่วนตัวที่ไม่ใช่ความเชี่ยวชาญของผู้เขียน กรุณาอ่านหน้า "ข้อตกลงและคำเตือนเกี่ยวกับเนื้อหา" ก่อน>
<เชิญดู บทนำ ซึ่งชี้แจงวัตถุประสงค์ของเนื้อหาในหมวด IT Auditing>
<สารบัญ (กำลังตามมาใน 2-3 อาทิตย์)>

Internal Control คืออะไร
ดูนิยามของ Internal Control [ลิ๊งค์นิยาม]

ทำไมต้องมี Internal Control
ตามความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนคิดว่าที่มาของ Internal Control มีดังนี้
  • ตามกฎหมายธุรกิจนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรต่างๆกับบุคคลที่สามภายนอกต่างๆ ซึ่งรวมทั้งพนักงานที่เป็นลูกจ้างของบริษัท จะถูกบังคับตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทนและตัวการ (Agent and Principal) ซึ่งอยู่ในหัวข้อ "ลักษณะ 15 ตัวแทน" [หน้า 153-159] ของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2486  (ฉบับปรับปรุง ก.พ. 2551) [ลิ๊งค์เอกสาร] (กรณีนายจ้าง-ลูกจ้างจะบังคับใช้ "ลักษณะ 6 จ้างแรงงาน" [หน้า 116-117] ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าวด้วย)
  • ในองค์กรประเภทต่างๆจะมีกฎหมายที่บังคับใช้ความสัมพันธ์รูปแบบการเป็นตัวแทนระหว่างองค์กรกับบุุคคลที่สาม (บุคคลภายนอก) เช่น
  • ในเรื่องเกี่ยวกับตัวแทนมีเรื่องเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบของตัวแทนต่อตัวการ ตามมาตรา 807 และ 812 [หน้า 154-155] ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สรุปได้ว่าตัวแทนต้องทำงานตามคำสั่งของตัวการที่ทั้งแสดงออกชัดหรือโดยปริยาย ซึ่งถ้าละเมิดตัวแทนต้องรับผิดชอบฝ่ายเดียว 
    • ดังนั้นองค์กรต่างๆและบริษัทตรวจสอบบัญชีซึ่งมีประสบการณ์ในการค้นพบจุดบกพร่องในกระบวนการดำเนินการขององค์กรจึงได้จัดทำ Framework สำหรับ Internal Control ดังกล่าวขึ้นมา เพื่อปกป้ององค์กร (ตัวการ) และควบคุมตัวแทนที่ทำหน้าที่แทนองค์กรด้วยกฎระเบียบการทำงานที่แสดงออกชัดและคิดว่าเหมาะสมสำหรับการดำเนินธุรกิจขององค์กรต่างๆ
  • (ในกรณีเรื่องลูกจ้างและตัวแทน เพื่อทวนสอบความเห็นส่วนตัวข้างต้นในกรณีของประเทศไทย ผู้อ่านจะต้องอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในประเทศไทยว่ามีการตัดสินว่าลูกจ้างเป็น ตัวแทนด้วยหรือไม่)
    • ที่ผู้เขียนอ้างว่าลูกจ้างก็เป็นตัวแทนด้วย ผู้เขียนอ้างตามหนังสือกฎหมายของสหรัฐอเมริกา ซึ่งคาดว่าทางศาลไทยน่าจะยึดหลักดังกล่าวและน่าจะปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกา โดยหนังสือและข้อความที่อ้างปรากฏที่หน้าดังกล่าวดังนี้
คิดว่า Internal Control Framework ใดที่น่าจะสำคัญ
  • Framework ด้าน Internal Control สำหรับระบบบัญชีที่มีอิทธิพลมากกว่า Framework อื่นๆ น่าจะเป็น Internal Control - Integrated Framework [ลิ๊งค์เอกสาร] ของ COSO (ความมีอิทธิพลก็เนื่องจากมี AICPA และ IIA ซึ่งควบคุมการสอบและอนุมัติใบ CPA ซึ่ง Audit Big Four ก็จำเป็นให้ Auditor ระดับสูงทุกคนต้องผ่าน)
  • ในส่วน Internal Control ของ IT ตามที่ได้กล่าวไปแล้วในบทนำ CObIT [ลิ๊งค์เอกสาร] และ Standard [ลิ๊งค์เอกสาร] ของ ISACA น่าจะมีอิทธิพลมาก เนื่องจากเป็นองค์กรย่อยของ IFAC ซึ่งมี AICPA และ IIA เป็นสมาชิกเช่นกัน
  • (ผู้เขียนเข้าใจว่าผู้อ่านบางคนคิดถึงเรื่องจรรยาบรรณของ Auditor ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่นอกขอบเขตความสนใจของ Blog ผู้เขียน (นอกจากจะขอประชดประชันบ้างเป็นครั้งคราว :p) ผู้เขียนแนะนำว่าเรื่องจรรยาบรรณต่างๆมี Textbook เกี่ยวกับ Audit Cases ต่างๆที่น่าสนใจตามศูนย์หนังสือต่างๆ  โดย Case ต่างๆดังกล่าวก็สรุปให้เห็นชัดว่า Auditor ที่ไม่มีจรรยาบรรณสุดท้ายแล้วก็ไม่ได้มีตอนจบที่สวยหรูเป็นส่วนใหญ่)
ตัวอย่างของ Internal Control
การแบ่งประเภทของ Internal Control ขออ้างอิงตามเนื้อหาเตรียมการสอบของ CISA ที่เป็นแนวทางสำหรับของ IT Audit (Cannon, D.L.; CISA : certified information systems auditor study guide, 3rd ed.; Wiley Publishing, Inc., Indianapolis, Indiana; 2011) หน้า 169-170 ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
  • Preventative: ทำการหยุดยั้งปัญหาก่อนเกิดขึ้นจริง
  • Detective: ทำการค้นหาและรายงานปัญหาที่เกิดขึ้นให้รับรู้
  • Corrective: ทำการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหลังพบจากการค้นหา
โดย Control แต่ละประเภทสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ด้วย 3 วิธี ได้แก่
  • Administrative: ใช้นโยบายและระเบียบขั้นตอนที่เป็นลายลักษณ์อักษร (เน้นที่ตัวบุคคล)
  • Technical: ใช้ Software หรือ Hardware ในการสร้างกระบวนการ (เน้นที่เทคโนโลยี)
  • Physical: ใช้ตัวกั้นในเชิงกายภาพและสิ่งที่มองเห็นได้ชัด (เช่น การออกแบบอาคารสิ่งก่อสร้าง)
ตัวอย่างของ Internal Control (หน้า 170)
  • Preventative Administrative: ระเบียบการจ้างงานและสอบประวัติ, การแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบ (Segregation of Duties), สัญญาธุรกิจ, กฎหมายและกฎระเบียบ ฯลฯ
  • Preventative Technical: การสำรองข้อมูล, HA Standby, Access Control List ฯลฯ
  • Preventative Physical: รั้วรอบอาคาร, ยามรักษาความปลอดภัย, กลอนประตู ฯลฯ
  • Detective Administrative: การบังคับพักร้อน, System Logs, หมายเลขเช็ค ฯลฯ
  • Detective Technical: Checksum, Intrusion Detection System, Application Logging ฯลฯ
  • Detective Physical: ระบบกริ่งเตือนภัย, การนับสินค้าคงเหลือ, ใบ Invoice ฯลฯ
  • Corrective Administrative: ระเบียบการออกของพนักงาน, แผน BCP และ DRP, บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned), ประกันภัยต่างๆ ฯลฯ
  • Corrective Technical: การกู้ข้อมูลจากส่วนที่สำรองไว้, การกำหนด Router สลับไปยัง Redundant Site ฯลฯ
  • Corrective Physical: Sprinkler เพื่อดับไฟ, Disaster Recovery ไป Redundant Sites ฯลฯ